Jan-2017
สัดส่วนรายได้งาน “สต๊อก” แยกตาม AGENCY ปี 2016
สัดส่วนรายได้งาน “สต๊อก” แยกตาม Agency ปี 2016
รวบรวมสัดส่วนรายได้งาน “สต๊อก” แยกตามเอเยนซี่ในปี 2016 เพื่อใช้เปรียบเทียบเพื่อและเป็นข้อมูลในการเลือกส่งงานเอเยนซี่ต่างๆ ประจำปี 2017
สัดส่วนรายได้ Photo Vs Footage
ปี 2016 ค่อนข้างทรงตัวจากปีที่ผ่านมาโดยที่ Footage ยังมีสัดส่วนที่มากกว่าเล็กน้อยเช่นเคยที่ 52:48
แต่ต้องไม่ลืมว่า รายได้จาก Footage ผมมาจากการส่งที่ iStock เพียงที่เดียวซึ่ง ณ สิ้นปี 2016 ผมมีจำนวนฟุตเทจอยู่ที่ 4,660 ในขณะที่ผมมีภาพนิ่งส่งไปประมาณ 25 เว็บโดยเว็บหลักอย่าง Shutterstock ผมมีภาพอยู่ที่ 8,700 ภาพ
นั่นแปลว่าสำหรับคนที่เริ่มเข้าวงการแล้วเป็นมือใหม่และมองรายได้เป็นที่ตั้ง
ให้เริ่มทำจากงาน Footage ไปเลยจะทำให้ยอดรายได้ไปเร็วกว่า
แต่ข้อควรระวังคือ การขาย Footage ใช้เวลาในการสร้างพอร์ตที่นานกว่าภาพนิ่ง
สัดส่วนรายได้ของ “สต๊อก” ภาพนิ่ง
สำหรับงานสต๊อกในส่วนของภาพนั้นปี 2016
เป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆอย่าง เป็นช่วงปีที่งานภาพนิ่งเริ่มเข้าสู่ ยุครุ่งเรืองของธุรกิจ
และเป็นยุคที่จะเริ่มเกิดปรากฎการณ์ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือ บริษัทขนาดกลางและเล็กจะเริ่มควบรวมกิจการ หรือปิดให้บริการลง
หรือบางบริษัทยังไม่ปิด หรือยังไม่ถูกซื้อแต่ยอดขายกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ยอดขายจะไปกระจุกตัวอยู่ที่บริษัทใหญ่ๆเท่านั้น
โดยบริษัทขนาดกลางที่จะอยู่ได้คือ บริษิทที่มีจุดเด่นที่ชัดเจน
ซึ่งในวงการสต๊อกนั้น หาจุดเด่นจากผลิตภัณฑ์ได้ยาก
เพราะของที่ขายคือภาพที่มาจาก Contributor
ดังนั้นภาพแต่ละเอเยนซี่จึงเหมือนกัน
ดังนั้นจุดเด่นของเอเยนซี่ขนาดเล็กจึงเกิดจากบริการ และความได้เปรียบด้านภูมิประเทศนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น Pixtastock จากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถยกระดับตัวเองแซงหน้า Dreamstime
เข้ามาสู่ Top 5 ได้นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ Top 5 ของวงการเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
ถ้าแบ่งรายได้เป็น 3 กลุ่มคือ Top5 : Tier 2 : Tier 3
โดยที่ Tier 2 หมายถึงเอเยนซี่ที่มีสัดส่วนรายได้ระหว่าง 1.5% – 5%
และ
Tier 3 คือกลุ่มที่มีรายได้ < 1.5% แล้วสัดส่วนรายได้ทั้งหมด
และเทียบให้ดูระหว่างปี 2015 และ 2016 จะเป็นไปตามภาพนี้
นั่นแปลว่าปัจจุบันย้ำภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าให้เน้นพัฒนางานและส่งไปที่เอเยนซี่ใหญ่ๆ (Top5)
ซึ่งเป็นไปตามตามหลักทฤษฎี 80:20 ที่ให้เน้นทำงานเพียง 20% (Top5)
ก็จะได้ยอดมากถึง 80% แล้วนั่นเอง และเลือกเฉพาะบางเอเยนซี่ของกลุ่ม Tier 2 เท่านั้น
ซึ่งส่วนตรงนี้จะพูดในลำดับถัดไป
รายชื่อและลิงค์เอเยนซี่เรียงตามยอดขาย (ของภาพนิ่ง)
สำหรับรายละเอียดของรายได้ของเอเยนซี่แต่ละแห่งเรียงตามลำดับของยอดขาย
เป็นไปตาม List ข้างล่างนี้ครับ โดยผมจะใส่สัดส่วนย้อนหลังของปีที่แล้วไว้ด้วยเพื่อจะได้ดูว่าสัดส่วนรายได้เปลี่ยนแปลงเดียงใด มี Agency ไหนน่าสนใจหรือน่าคัดทิ้งเป็นพิเศษหรือไม่
ซึ่งหากเพื่อนๆสนใจสมัครเอเยนซี่ใดเพิ่มเติม สามารถกดที่ชื่อเอเยนซี่นั้นๆได้เลยครับ
โดยที่ผมได้ใส่สีแต่ละเอเยนซี่ไว้ซึ่งมีความหมายคือ
“สีเขียว” คือเอเยนซี่ที่ลำดับสัดส่วนรายได้ดีขึ้นจากปี 2015
“สีเหลือง” คือเอเยนซี่ที่ลำดับสัดส่วนรายได้คงที่จากปี 2015
“สีแดง” คือเอเยนซี่ที่ลำดับสัดส่วนรายได้แย่ลงจากปี 2015
= = = = = = = = =Top 5 = = = = = = = = =
1. Shutterstock — Photo / Video 42.78% –> 43.07%
2. Fotolia — Photo / Video 11.36% –> 14.62
3. iStockphoto — Photo / Video 11.62% –> 11.18%
4. 123RF — Photo / Video 7.60% –> 7.56%
5. Pixta stock — Photo / Video 1.81% –> 3.02%
= = = = = = = = =Tier2 = = = = = = = = =
6. Dreamstime — Photo / Video 4.29% –> 2.96%
7. Alamy — Photo 1.78% –> 2.80%
8. Big Stock — Photo 2.40% –> 2.59%
9. DepositePhoto — Photo / Video 3.15% –> 2.37%
10. Sign Elements — Photo 1.51% –> 1.76%
11. Pond5 — Photo / Video 0.82% –> 1.54%
= = = = = = = = =Tier3 = = = = = = = = =
12. Envato (Photodune/VideoHive) — Photo / Video 2.01% –> 1.42%
13. CanStockPhoto — Photo / Video 1.31% –> 1.31%
14. Free Digital Photos — Photo 3.55% –> 0.93%
15. Zoonar — Photo 0.55% –> 0.86%
16. Colour Box — Photo / Video 0.67% –> 0.84%
17. Pantherm Media — Photo 0.79% –> 0.33%
18. Most Photos — Photo 0.12% –> 0.23%
19. Stockfresh — Photo 0.40% –> 0.22%
20. GL Stock Image — Photo 0.06% –> 0.15%
21. Veer — Photo 0.72% –> 0.11%22. FeaturePics — Photo 0.24% –> 0.11%
23. YAY Micro — Photo 0.10% –> 0.06%
24. CutCaster — Photo 0.014% –> 0.0061%
25. Photaki
ฟันธงสำหรับเอเยนซี่ Tier 2-3
อย่างที่บอกไปครับในเราเน้นการส่งภาพกับเว็บไซต์ Top 5 และเลือกส่งเฉพาะบางเอเยนซี่ใน Tier 2-3 ซึ่งผมของฟันธงดังนี้ครับ เช่นเคยผมจะให้สีสัญลักษณ์ 3 สีดังนี้
“สีเขียว” คือ ส่งไปเลยยอดได้น้ำได้เนื้อดูดีมีอนาคตสามารถขึ้นได้อีก
“สีเหลือง” คือ ถ้ามีแรงก็ส่ง ยอดอาจจะพอใช้แต่ยุ่งยาก / ยอดโอแต่แนวโน้มลดลง
“สีแดง” คือ อย่าไปยุ่งถึงจะส่งง่ายแค่ไหนก็เสียเวลาเปล่าๆ
- Dreamstime
- Alamy
- Big Stock
- DepositePhoto
- Sign Elements
- Pond5
- Envato (Photodune)
- CanStockPhoto
- Free Digital Photos
- Zoonar
- Colour Box
- Pantherm Media
- Most Photos
- Stockfresh
- GL Stock Image
- FeaturePics
- YAY Micro
- CutCaster
สำหรับการวิเคราะห์อย่างละเอียดผมจะมาเล่าให้ฟังเป็น Youtube อีกครั้งหนึ่งเร็วๆนี้นะครับ แบบว่าขี้เกียจพิมพ์ละ 555
บทสรุป
- ในปี 2016 ที่ผ่านมาเอเยนซี่ที่ปิดตัวไปอีก 2 แห่งคือ Veer ที่ถูก Getty Image/iStock ซื้อไป (ซื้อผ่าน VCG ซึ่งเป็นบริษัทของ GI ในจีน) และ Photaki ที่ไปเปิดเว็บ feepix แทนซึ่งทำตลาดแบบแจกรูปฟรีในการใช้งานแบบจำกัดแทนอะไรประมาณนั้น
- Top 5 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกตั้งแต่ที่ทำมา 7 ปี
- ควรส่งทุกเว็บที่เป็น Top 5 (Pixtastock ขึ้นมาแทน Dreamstime แล้วนะ)
- สำหรับ เอเยนซี่ระดับกลางที่มีจุดเด่นและน่าสนใจในปี 2017 ที่ยอดขายน่าจะเพิ่มขึ้นได้โดยง่ายยังเป็น Sign Elements ซึ่ง Sign Elements เป็นเว็บสัญชาติ UK มีจุดเด่นคือความแข็งแกร่งในภูมิภาคของตนเองเป็นอย่างมาก
- เว็บอีกเว็บที่น่าสนใจคือ Alamy ซึ่งเป็นเว็บแนว Macrostock มากกว่า จำนวนโหลดน้อยแต่ราคาต่อโหลดสูงน่าประทับใจ
- ส่วนเว็บที่รายได้ไม่ดีแต่ควรส่งคือ Most Photos เพราะมีจุดเด่นในเรื่องการ Backup ไฟล์ที่เราสามารถโหลดไฟล์ทั้งหมดกลับมาได้ด้วยคลิกเดียว
- Footage มาแรงมากหากเน้นรายได้ควรทำมากกว่าภาพนิ่ง
- iStock มีการปรับ Download Target และ โครงสร้าง Commission ที่น่าจะดึง Exclusive Artist กลับมาได้ ซึ่งผมได้วิเคราะห์ไว้แล้วใน Youtube ตามนี้ https://youtu.be/EWyA-S7WLq0
สำหรับปี 2017 ก็ขอให้ทุกคนโชคดี เฮงเฮงเฮง รวยรวยรวยช่วยกันโกยเงิน Dollar เข้ามาเยอะๆนะครับ