Dec-2016
การขอวีซ่าเชงเก้น จะงานประจำ จะทำฟรีแลนซ์ ก็ของ่ายไม่ต่างกัน
การขอวีซ่าเชงเก้น จะงานประจำ จะทำฟรีแลนซ์ ก็ของ่ายไม่ต่างกัน
ทำงานประจำเงินเดือนน้อยใช่มั๊ย หรือทำฟรีแลนซ์ ไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือน แต่อยากไปเที่ยวยุโรป… ไม่ใช่ปัญหา การขอวีซ้าเชงเก้นง่ายกว่าที่คุณคิดเยอะ บทความนี้มีคำตอบให้คุณ อยากรู้แล้วก็ตามมาเลย….
การขอวีซ่าเชงเก้นง่ายกว่าที่คิดทำยังไงมาดูคลิปกันเลยจ้า…
List เอกสารที่จำเป็นในการขอวีซ่า
- ใบสมัครทำวีซ่าเชงเก้น (โหลดจากสถานฑูตที่จะไปขอวีซ่าเชงเก้น) ซึ่งสถานฑูตที่จะไปยื่นขอวีซ่าเชงเก้นคือ ประเทศที่เราอยู่นานที่สุดในทริปนั้น หากมีประเทศที่อยู่นานที่สุดเท่ากันให้ไปยื่นขอที่ประเทศแรกที่เข้า ตัวอย่าง ทริปไอซ์แลนด์ ผมไปไอซ์แลนด์ 14 วัน และอยู่เดนมาร์ก 5 วัน แปลว่าผมต้องขอวีซ่าเชงเก้นจากประเทศไอซ์แลนด์ แต่ในกรณีนี้เนื่องจากไอซ์แลนด์ไม่มีสถานฑูตในไทย ได้มีการมอบหมายให้สถานฑูตเดนมาร์กเป็นผู้ดูแลแทน ดังนั้นในการไปขอวีซ่าครั้งนี้ผมจึงต้องไปขอที่ สถานฑูตเดนมาร์ก ซึ่งสามารถโหลด แบบฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่าได้ที่นี่
- รูปถ่ายขนาด 3.5 cms x 4.5 cms (ง่ายๆไปร้านถ่ายรูปบอกว่าถ่ายรูปทำวีซ่าเชงเก้น ส่วนมากเค้ารู้เอง)
- Passport ฉบับปัจจุบันพร้อมสำเนาหน้าข้อมูลและหน้าที่มี Stamp เข้าออกและวีซ่าทุกหน้า
- Passport เล่มเก่าพร้อมสำเนาหน้าข้อมูลและหน้าที่มี Stamp เข้าออกและวีซ่าทุกหน้าย้อนหลัง 10 ปี
- กรณีมีเดินทางไปประเทศอื่นที่ต้องขอวีซ่า ให้ขอวีซ่าประเทศอื่นๆให้เรียบร้อยก่อน
- ใบจองตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับ ไทย
- หมายกำหนดการ/ใบจองที่พักทุกคืน (ขอเฉพาะบางสถานฑูตแต่เพื่อความชัวร์เตรียมให้เรียบร้อย) ทั้งนี้เราสามารถจองที่พักแบบยังไม่ต้องเสียเงินได้ตามนี้ (ให้จองห้องแบบสามารถยกเลิกได้ฟรีไปก่อน) เช่น www.booking.com หรือ www.Expedia.co.th
- หลักฐานการทำงาน คนมีงานประจำใช้ หนังสือรับรองเงินเดือน ส่วน คนทำ Freelance ใช้หนังสือแนะนำตัวเอง สามารถดูตัวอย่างได้ ที่นี่
- หลักฐานการเงิน (bank statement ย้อนหลัง 3 เดือน) สำหรับคนทำงานประจำให้ใช้บัญชีที่รับเงินเดือน ส่วนคนที่ทำ Freelance ให้ใช้บัญชีที่รับเงินเป็นหลัก กรณีรับเงินผ่าน Paypal ก็สามารถใช้ Statement Paypal ได้เช่นกัน แต่ต้องมี Bank Statement ของไทยไปประกอบเพื่อให้หลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์
- ประกันภัยเดินทาง ที่มีวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาท หรือ 30,000 ยูโร โดยจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองจากเชงเก้นเท่านั้น สามารถดู รายชื่อบริษัทประกันภัยทั้งหมดได้ที่นี่
ตัวอย่างบริษัทประกันภัยที่ได้รับการรับรองจากเชงเก้นเช่น บริษัททิพยประกันภัย ซึ่งสามารถซื้อประกันภัยเดินทางแบบออนไลน์ได้ที่ https://www.tipinsure.com
ประกันภัยเดินทางเป็นมากกว่าเอกสารเพื่อขอวีซ่าเชงเก้น
แม้ว่าการทำวีซ่าเชงเก้นนั้นจะมีการบังคับให้ทำเฉพาะประกันชีวิต อุบัติเหตุ และเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่เราสามารถเพิ่มเงินไม่มากเพื่อเพิ่มความคุ้มครองอีก 2 ด้านได้คือ
คุ้มครองทรัพย์สิน
- กระเป๋าเดินทาง+ทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทางสูญหายหรือเสียหาย
- เอกสารการเดินทาง เช่น หนังสือเดินทาง วีซ่า หาย/ชำรุด
- การล่าช้าของกระเป๋าเดินทาง
- ความรับผิดต่อบัตรเครดิต
- ชดเชยการสูญหายของเงินส่วนตัว
- อื่นๆ
คุ้มครองความไม่สะดวกในการเดินทาง
- การล่าช้าในการเดินทาง (มากกว่า 6 ชม.ขึ้นไป)
- การพลาดการต่อเที่ยวบิน
- ค่าใช้จ่ายในการลดจำนวนวันเดินทาง
- การจี้เครื่องบิน
- การขยายระยะเวลาเอาประกันภัยโดยอัตโนมัติ
ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้ แน่นอนว่าโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ส่วนตัวผมเองด้วยความที่เดินทางเยอะ ก็พบว่าเหตุการณ์เหล่านี้ต่อให้เราระมัดระวังมากขนาดไหน บทมันจะเกิดมันก็เกิด นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆที่ผมเจอมา
- กระเป๋าเดินทางไม่มา /มาสาย ซึ่งครั้งนั้นสายการบินชดเชยด้วยเงินเพียง EUR 50 และชุดยังชีพ 1 ชุด ต้องไปซื้อเสื้อผ้ากันหนาวเพิ่มเอง
- ภูเขาไฟระเบิด ติดที่ยุโรปต่ออีก 5 วันหมดค่าใช้จ่ายไปกว่า 40,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางขาดจากการขนส่ง
- เครื่องบินเสียต้องรอเครื่องซ่อม
- Passport ขาดระหว่างการเที่ยว
- โดนขโมยอุปกรณ์กล้องระหว่างการเดินทาง
ซึ่งก็รวมไปถึงทริปต่างประเทศ ทริปอื่นๆที่ไม่ใช่เชงเก้น จึงควรทำประกันภัยเดินทางด้วยเช่นกัน เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นเราจึงควรกันไว้ดีกว่าไปแก้ทีหลังนั่นเอง
หลักการในการเลือกบริษัทประกันภัยเดินทาง
จริงๆแล้วการเลือกบริษัทประกันภัยเดินทางนั้น แต่ละคนมีวิธีการคิดแตกต่างกันไป เช่น เน้นถูก เน้นสะดวก เน้นคุ้มครองมากๆ เน้นความมั่นคงของบริษัทประกันภัย ช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนตัวผมเลือกใช้ประกันภัย TIPINSURE ของบริษัททิพยประกันภัยด้วยเหตุผลดังนี้
- บริษัทใหญ่มั่นคง ภาครัฐถือหุ้นใหญ่ จึงการันตีได้ว่าถ้าเกิดเหตุที่จะต้องเคลมจะเคลมได้แน่นอน
- ซื้อง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถซื้อออนไลน์จนกระทั่งก่อนออกเดินทาง
- เดินทางในเอเชีย ค่าประกันถูกที่สุดในตลาด (ผมไปมาเก๊า 5 วันเพียง 208.40 บาท)
- มี HOTLINE บริการ 24 ชม. ในการติดต่อประสานงานกรณีเกิดเหตุ
- (อันนี้อีกหน่อยผมคงได้ใช้) จ่าย (ผู้ใหญ่) 2 คนคุ้มครองลูกๆ เพิ่มอีก 2 คน
- โปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งต้องคอยติดตาม เช่น ซื้อประกันฟรี Pocket Wifi
สนใจประกันภัยการเดินทาง : https://www.tipinsure.com/